เฮมพ์ หรือเฮมพ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. ssp. Sativa
กัญชา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. ssp. Indica
ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชเฮมพ์ เพื่อนำมาใช้ทอผ้าอย่างจริงจัง แต่เนื่องจากต้นเฮมพ์ มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกัญชา ซึ่งเป็นพืชเสพติด สถาบันวิชาการและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ได้เคยศึกษาเปรียบเทียบกัญชา กับเฮมพ์ เมื่อปี พ.ศ.2537 โดยได้รับการสนับสนุนตัวอย่างจาก สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาคเหนือ ในขณะนั้น ทำการศึกษาทั้งทางกายภาพ และทางเคมี โดยทำการเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ ของส่วนต่างๆ และตรวจพิสูจน์องค์ประกอบทางเคมีที่เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญที่มีอยู่ในกัญชา และเฮมพ์ ได้แก่ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล(Tetrahydrocannabinol , THC) แคนนาบิไดออล (Cannabidiol,CBD) และ แคนนาบินอล (Cannabinol,CBN)
ความแตกต่างระหว่างเฮมพ์กับกัญชา
เฮมพ์และกัญชาพบว่าแหล่งกำเนิดอยู่ค่อนไปทางเหนือของทวีปเอเชียได้แก่ ทางตอนเหนือของประเทศจีน ไซบีเรีย มองโกเลีย แล้วค่อยกระจายไปทางเหนือคือทวีปยุโรป ยุโรปนำไปปลูกแล้วทำการพัฒนาพันธุ์เพื่อใช้ประโยชน์ด้านเส้นใย ส่วนที่กระจายมาทางไต้ คือ ประเทศอินเดีย จีน ไทย ใช้ในการสูบจึงพัฒนาโดยการคัดเลือกให้มีปริมาณสารมากและเข้มข้นขึ้น
เนื่องจากเฮมพ์เป็นพืชที่มีลักษณะทางกายภาพคล้ายกับกัญชาจึงถูกรวมอยู่ใน กลุ่มพืชเสพติด แต่ก็มีข้อแตกต่างที่สามารถแยกพืช 2 ชนิดนี้ ออกจากกันได้ในระดับ subspecies โดยกัญชามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa Subspecies. Indica (Lam.) ส่วนเฮมพ์มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa Subspecies. sativa. เมื่อศึกษาโดยละเอียดแล้วจะมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านกายภาพ ในระดับดีเอ็นเอ และปริมาณของสารสังเคราะห์ที่พืชสร้างขึ้น ดังต่อไปนี้
1. การเปรียบเทียบลักษณะกายภาพของเฮมพ์กับกัญชา
1.1. ลำต้น
- เฮมพ์ ลำต้น สูงเรียวมากกว่า 2 เมตร หรืออาจสูงถึง 4 เมตร บริเวณโคนต้นสูงจากดินประมาณ 30 เซนติเมตร จะมีลักษณะกลม แล้วถัดขึ้นมาลำต้นจะเป็นหยักนูน
- กัญชา ลำต้น มักสูงน้อยกว่าเฮมพ์ บางชนิดออกพุ่มเตี้ย ทรงพุ่มฐานกว้าง แล้วเรียว เหลม ขึ้นไปปลายยอดคล้ายเจดีย์
เฮมพ์
กัญชา

1.2. การแตกกิ่ง
- เฮมพ์ แตกกิ่งน้อย และการแตกกิ่งจะไปในทิศทางเดียวกัน กิ่งที่แตกออกมาจะมีลักษณะเป็นหยักนูน
- กัญชา แตกกิ่งมาก การแตกกิ่งจะเป็นแบบสลับ กิ่งที่แตกออกมามีลักษณะกลม
เฮมพ์
กัญชา

1.3. การเรียงตัวของใบ
- เฮมพ์ ใบใหญ่ การเรียงตัวของใบบนลำต้นและกิ่งก้าน จะค่อนข้างห่างทำให้ ทรงพุ่มมีความโปร่งแสง
- กัญชา ใบเล็กแคบเรียวยาว การเรียงตัวของใบจะชิดกัน ลักษณะทรงพุ่มแน่นทึบไม่โปร่งแสง
เฮมพ์
กัญชา

1.4. ลักษณะข้อ
- เฮมพ์ ข้อของลำต้นห่างกว่ากัญชา กิ่งและใบบนต้นห่างทำให้ทรงต้นโปร่ง
- กัญชา ข้อของลำต้นสั้น กิ่งและใบชิดกันทำให้ทรงต้นทึบ
เฮมพ์
กัญชา

1.5. ลักษณะใบ
- เฮมพ์ ใบมีสีเขียวอมเหลือง ขอบใบย่อยแต่ละแฉกโค้งแผ่กว้าง
- กัญชา ใบมีสีเขียว ถึงเขียวจัด ขอบใบย่อยแต่ละแฉกเรียวยาว
เฮมพ์
กัญชา

1.6. ช่อดอก
- เฮมพ์ เมื่อออกดอกช่อดอกห่างมียางที่ช่อดอกไม่มาก เมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อยและทำให้ผู้เสพปวดหัว
- กัญชา เมื่อออกดอกช่อดอกชิดติดกันมียางที่ช่อดอกมากเมื่อนำมาจุดไฟ จะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง มีฤทธิ์หลอนประสาท
เฮมพ์
กัญชา

1.7. เมล็ด
- เฮมพ์ เมล็ดมีขนาดใหญ่มีเมล็ดลายบ้าง
- กัญชา เมล็ดมีขนาดเล็ก
เฮมพ์
กัญชา

1.8. ขนาดท่อลำเลียงน้ำ
- เฮมพ์ ท่อลำเลียงน้ำ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่า
- กัญชา ท่อลำเลียงน้ำเล็กกว่า และมีเยื่อบางสีขาว
เฮมพ์
กัญชา

1.9. เปลือก
- เฮมพ์ เปลือกกับลำต้นแยกชั้นกันเหนียวหนาลอกง่าย เส้นใยยาว คุณภาพสูง
- กัญชา เปลือกยึดกับลำต้นบางลอกยากขาดง่าย ได้เส้นใยสั้น คุณภาพต่ำ
1.10. ปริมาณสารเสพติด (THC)
- เฮมพ์ มีสาร Tetra Hydro Cannabinol หรือTHC ร้อยละ 0.3 - 7
- กัญชา มีสาร THC ร้อยละ 1 - 10
สรุป
1. เฮมพ์ลำต้นสูงเรียวเป็นเหลี่ยมจะกลมเฉพาะบริเวณโคนต้นเหนือจากดินประมาณ 30 เซนติเมตร และมีความสูงมากกว่า 2 เมตร ท่อส่งน้ำมีขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลางใหญ่ลำต้นหักง่าย ส่วนกัญชาลำต้นมักสูงน้อยกว่าเฮมพ์และมีลำต้นกลม บางชนิดออกพุ่มเตี้ย ท่อส่งน้ำเล็กกว่า และมีเยื่อบางสีขาวลำต้นหักยาก
2. เฮมพ์แตกกิ่งก้านน้อยและส่วนกิ่งก้านทำมุมกับลำต้นมากกว่าประมาณ 65 องศา ส่วน กัญชาแตกกิ่งก้านมากและก้านทำมุมกับลำต้นน้อยกว่าประมาณ 45 องศา
3. เฮมพ์ใบใหญ่ขอบด้านข้างของแฉกใบย่อยโค้งกว้าง การเรียงตัวของใบค่อนข้าง ห่าง ใบสีเขียวอมเหลือง ส่วนกัญชาใบเล็กขอบด้านข้างของแฉกใบย่อยแคบเรียวยาว การเรียงตัวของใบจะชิดกัน ใบมีสีเขียว ถึงเขียวจัด
4. เฮมพ์ปล้องหรือข้อยาวระยะห่างของใบบนลำต้นกว้างทำให้ทรงพุ่มโปร่ง กัญชา ปล้องหรือข้อสั้นระยะห่างของใบบนลำต้นแคบทรงพุ่มทึบ
5. เฮมพ์เปลือกเส้นใยละเอียดเหนียวหนาลอกง่ายให้เส้นใยยาว คุณภาพสูง กัญชาเปลือกเส้นใยหยาบบางลอกยาก ให้เส้นใยสั้น คุณภาพต่ำ
6. เฮมพ์เมื่อออกดอกมียางที่ช่อดอกไม่มากมีสาร Tetra Hydro Cannabinol หรือTHC ร้อยละ 0.3 - 7 ใบและกะหลี่นำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อยและทำให้ผู้เสพปวดหัว ส่วนกัญชาเมื่อออกดอกมียางที่ช่อดอกมากมีสาร THC ร้อยละ 1 – 10 ใบและกะหลี่เมื่อนำมาจุดไฟจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง มีฤทธิ์หลอนประสาท
7. เฮมพ์เมล็ดมีขนาดใหญ่ มีเมล็ดลายบ้างผิวเมล็ดหยาบด้าน ส่วนกัญชาเมล็ดมีขนาดเล็กผิวเมล็ดมันวาว
2. การเปรียบเทียบ DNA ระหว่างเฮมพ์กับกัญชา
รูปภาพแสดงลายพิมพ์ ดีเอ็นเอที่ปรากฏจากภาพถ่าย โดยใช้วิธี DNA fingerpint โดย แถบที่ 1 คือ เฮมพ์เพศเมีย , แถบที่ 2 คือเฮมพ์เพศผู้ , แถบที่ 3 คือเฮมพ์ชนิดรวมเพศ ส่วนแถบที่ 4 คือกัญชา พบแถบดีเอ็นเอที่แยกมีความแตกต่างของแถบดีเอ็นเออย่างชัดเจนถึง 2 ตำแหน่งตามภาพ โดยแถบที่ 1 – 4 ตำแหน่งยีนลำดับที่ (a, e) จะมีเฉพาะในพืชเฮมพ์ (แถบที่ 1 - 3) แต่กัญชาจะไม่มียีน 2 ตำแหน่งนี้ กัญชาและเฮมพ์เพศเมียจะไม่มีตำแหน่งยีนลำดับที่ f ส่วนเฮมพ์เพศผู้และรวมทั้งสองเพศมีตำแหน่งยีนลำดับที่ f
สรุป
จากการศึกษาเปรียบเทียบลายพิมพ์ดีเอ็นเอของเฮมพ์กับกัญชา จะสามารถเห็นได้ว่าเฮมพ์มีตำแหน่งยีนที่ต่างกับกัญชา 2 ลำดับคือลำดับที่ a กับ e จะมีแต่ในเฮมพ์ และในเฮมพ์เพศผู้กับแบบรวมเพศจะมีตำแหน่งยีนที่แตกต่างจากกัญชาเพิ่มอีก 1 ลำดับได้แก่ลำดับที่ fดังนั้นจึงเป็นข้อเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจนในระดับยีนว่าเฮมพ์เป็นพืชต่าง ชนิดกันกับกัญชา
3. การเปรียบเทียบทางเคมีระหว่างเฮมพ์กับกัญชา ปฏิกิริยาการเกิดสี (Color Test)
การทดสอบปฏิกิริยาการเกิดสีกับ Fast Blue B Salt พบว่ากัญชา และเฮมพ์จะให้ผลเป็นบวกเหมือนกัน แต่จะมีความเข้มของสีแตกต่างกันในแต่ละส่วนของต้น และกัญชาจะให้ความเข้มของสีเข้มกว่าเฮมพ์ ดังตาราง
ตัวอย่าง
กัญชา
เฮมพ์
ช่อดอก
ใบ
กิ่ง
ลำต้น
ราก
หมายเหตุ
คือให้ผลเป็นบวกกับ Fast Blue B Salt จำนวนเครื่องหมาย แสดงให้เห็นถึงความเข้มของ สีที่เกิดขึ้น เช่น จะเข้มกว่า
การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารโดยใช้เครื่องแก๊สโคมาโตรกราฟ (Gas Chromatography, C)
การปฏิบัติการวิเคราะห์หาปริมาณสาร โดยการสกัดสารออกฤทธิ์ด้วยตัวทำละลายใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิดคือ Petroleum Ether , Hexane , Methanol พบปริมาณสารแตกต่างกันระหว่างเฮมพ์ กับกัญชา โดยมีปริมาณแตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของลำต้น ดังแสดงในตาราง

สรุป
ในการทดสอบปฏิกิริยาการเกิดสีกับ Fast Blue B Salt พบว่าเฮมพ์จะมีการติดสีน้อยกว่ากัญชา แสดงให้เห็นว่าเฮมพ์มีปริมาณสารน้อยกว่า จึงทำให้เกิดการติดสีจางกว่ากัญชาที่มีการติดสีเข้มสามารถมองเห็นได้ชัดเจน กว่า
เมื่อปฏิบัติการวิเคราะห์เปรียบเทียบปริมาณสารจะเห็นได้ว่าเฮมพ์จะมี ปริมาณสาร CBD ที่มีฤทธิ์ต่อต้านฤทธิ์ของสาร THC ในส่วนต่างๆของต้นมากกว่ากัญชา และมีปริมาณมากกว่าสาร THC ที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาททำให้ประสาทหลอน ส่วนในกัญชาจะมีปริมาณสาร THC ที่เป็นสารเสพติดในส่วนต่างๆของต้นมากกว่าเฮมพ์ และปริมาณมากกว่าสาร CBD ที่ฤทธิ์ตรงข้ามกับสาร THC
การเพาะปลูกเฮมพ์ในพื้นที่ หรือบางสภาพแวดล้อมประเทศไทยยังได้ผลผลิตต้นเฮมพ์ปริมาณน้อย และมีสาร Delta-9-tetrahydrocannabinol มากกว่า 0.3 % ซึ่งเกินกว่าทางกฎหมายสากลกำหนด สภาพแวดล้อมของพื้นที่ในภูมิประเทศที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน เช่น ปริมาณความชื้น ความลึกของระดับน้ำใต้ดิน ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ลักษณะของเนื้อดิน อุณหภูมิ ลม อาจมีผลให้การสังเคราะห์สาร THC ในเฮมพ์แตกต่างกัน

[ BACK ]